เมนู

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบน
ภูเขา เมื่อฝนตกหนัก ๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา
ลำธาร และห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนอง
ให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหา-
สมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์. . .โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติ
ให้บริบูรณ์ ... วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล.
จบตัณหาสูตรที่ 2

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ 2


ตัณหาสูตรที่ 2

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภวคณฺหาย ได้แก่ ของความปรารถนาภพ. ในสูตรทั้งสอง
ตรัสเฉพาะวัฎฎะอย่างเดียว แต่วัฎฎะในสูตรทั้งสองนี้ สูตรที่ 1 ตรัส
วัฏฎะมีอวิชชาเป็นมูล สูตรที่ 2 ตรัสวัฏฏะมีตัณหาเป็นมูล.
จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ 2

3. นิฏฐาสูตร


ว่าด้วยบุคคล 10 จำพวก ที่เชื่อมั่นในพระตถาคต


[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคล 5 จำพวกที่สมบูรณ์

ด้วยทิฏฐิเชื่อมั่นในโลกนี้ อีก 5 จำพวกโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น บุคคล
5 จำพวกเหล่าไหนเชื่อมั่นในโลกนี้ คือ พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ 1
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ 1 พระโสดาบันผู้เอกพีชี 1 พระสกทาคามี 1
พระอรหันต์ในปัจจุบัน 1 บุคคล 5 จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้.
บุคคล 5 จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น คือพระ-
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี 1 พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี 1
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี 1 พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี 1
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี 1 บุคคล 5 จำพวกเหล่านี้ละโลก
นี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล้าหนึ่งเชื่อมั่น
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฏฐิ 5 จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้ บุคคล 5 จำพวกเหล่านี้
ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น.
จบนิฏฐาสูตรที่ 3

อรรถกถานิฏฐาสูตรที่ 3


นิฏฐาสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิฏฺฐงฺคตา ได้แก่ หมดความสงสัย. บทว่า อิธ นิฏฺฐา
ได้แก่ ปรินิพพานในโลกนี้เท่านั้น. บทว่า อิธ วิหาย นิฏฺฐา ได้แก่
ละโลกนี้แล้วไปสู่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส.
อรรถกถานิฏฐาสูตรที่ 3